http://www.free108.net เปลี่ยนเป็น http://www.free108.info
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
เข้าสู่ระบบ(Log in)

ลืม(forget) password

April 2024
MonTueWedThuFriSatSun
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930     

Calendar Calendar


ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต การอ่านภาษาบาลีสันสกฤต

Go down

ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต การอ่านภาษาบาลีสันสกฤต Empty ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต การอ่านภาษาบาลีสันสกฤต

ตั้งหัวข้อ  บา Wed Dec 17, 2008 9:01 pm

บทความ-สารคดี
โดย กาญจนา นาคสกุล

ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต การอ่านภาษาบาลีสันสกฤต

ภาษาบาลี

เรามักเชื่อกันตามประเพณีนิยมว่าพระพุทธเจ้าทรงใช้ภาษาบาลีเทศน์โปรดคนทั้งปวง แต่ความเป็นจริงมีอยู่ว่า คำว่า บาลีในความหมายที่เข้าใจกันกันในปัจจุบันว่าหมายถึง “ภาษาที่ใช้บันทึกพระไตรปิฎกฉบับเถรวาท” นั้นเป็นความหมายที่เกิดขึ้นภายหลัง

ความหมายเดิมของคำว่า บาลี นั้นหมายถึง “พระไตรปิฎก” โดยตรง หลักฐานจากคัมภีร์พระไตรปิฎกหลายแห่งยืนยันว่า คำว่า พระบาลี เดิมหมายถึง “พระพุทธวจนะ” หรือ “พระไตรปิฎก”

ภายหลังความหมายของคำว่า บาลี จึงเลื่อนขยายออกมาหมายถึง “ภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงใช้เทศนา” และหมายถึง “ภาษาที่ใช้บันทึกพระไตรปิฎก” ด้วย ต่อมาคนทั่วไปรู้จักคำว่าบาลีแต่เฉพาะความหมายที่เพิ่มขึ้นทีหลัง นั่นคือ คำว่าบาลีได้กลายเป็นชื่อเรียกภาษาหนึ่งขึ้นมา

สรุปว่า คำว่า บาลี หรือ พระบาลี เดิมมิได้เป็นชื่อเรียกภาษา หากแต่ใช้เรียกพระพุทธวจนะ ต่อมาพระพุทธวจนะได้รับการรวบรวมเป็นหมวดหมู่หรือที่เรารู้จักต่อมาว่า พระไตรปิฎก คำว่า พระบาลี จึงหมายถึง “พระไตรปิฎก” ด้วย จากนั้นจึงค่อยหมายถึง “ภาษาอย่างที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก” ซึ่งเป็นแบบอย่างในการแต่งคัมภีร์พุทธศาสนาประเภทอรรถกถาและประเภทอื่นๆ ต่อมา

คำว่า บาลี แปลว่า “แถว” หรือ “แนว” ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานประการหนึ่งที่น่าเชื่อถือว่า ภาษาบาลีเป็น “ภาษาที่ใช้พูดตามแนวรอยต่อระหว่างแคว้นต่างๆ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นภาษาที่ใช้พูดตามแนวรอยต่อระหว่างแคว้นมคธ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลกับแคว้นอื่นๆ ที่มีอาณาเขตติดต่อกับแคว้นมคธ

การที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงเลือกภาษาของแคว้นใดแคว้นหนึ่งเป็นสื่อในการเผยแพร่พระธรรม ก็เพราเกรงว่าจะทำให้ผู้อยู่ต่างแคว้นไม่เข้าใจ หรือเข้าใจพระธรรมคำสอนอันลึกซึ้งของพระองค์คลาดเคลื่อนไป

พระองค์จึงทรงเลือกเอาภาษาที่ใช้ตามแนวต่อระหว่างแคว้นเป็นภาษากลางในการประกาศธรรม เพราะเป็นภาษาที่ผู้อาศัยอยู่ตามแนวระหว่างแคว้นทั้งสองสามารถเข้าใจร่วมกันได้ และการที่ทรงเลือกเอาภาษาที่ใช้ตามแนวต่อของแคว้นมคธกับแคว้นอื่นๆ เป็นหลัก ก็เพราะแคว้นมคธเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจและอำนาจทางการเมืองในสมัยนั้น

เหตุที่พระพุทธองค์ทรงเลือกภาษาที่ใช้ตามแนวต่อของแคว้นมคธกับแคว้นอื่นๆ เป็นหลัก ทำให้ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษากลางที่ใช้ติดต่อระหว่างแคว้นมคธกับแคว้นอื่นๆ มีลักษณะของภาษามาคธี ซึ่งเป็นภาษาประจำแคว้นมคธปนอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาบาลีรุ่นเก่าที่สุดที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎกหมวดเก่าๆ อย่างธรรมบท สุตตนิบาต และบรรดาคาถาต่างๆ เป็นต้น

ภาษาที่ใช้สื่อกันในหมู่ชาวแคว้นมคธนั้น ที่จริงเรียกว่าภาษามาคธี แปลว่า “ภาษาที่ใช้ในแคว้นมคธ” ผู้วิเคราะห์ทางภาษากล่าวว่าภาษามาคธีมีลักษณะแตกต่างจากภาษาบาลีมาก ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือภาษามาคธีไม่มีเสียง ร มีแต่เสียง ล แต่ภาษาบาลีมีทั้ง ๒ เสียง ภาษามาคธีหรือภาษาที่ชาวแคว้นมคธีใช้จึงไม่ใช่ภาษาบาลีและไม่เรียกว่าภาษาบาลี

หากพิจารณาด้านไวยากรณ์ ภาษาบาลีมีโครงรูปทางไวยากรณ์ที่เก่ากว่าภาษามาคธี คำบางคำในภาษาบาลีสามารถรักษารูปของคำที่เก่าย้อนไปไกลกว่าภาษาสันสกฤต แม้ลักษณะโดยทั่วไปของภาษาบาลีจะซับซ้อนน้อยกว่าภาษาสันสกฤตก็ตาม

นักภาษาศาสตร์ได้จัดภาษาบาลีไว้ในกลุ่มภาษาอินเดีย-อิหร่านยุคกลางตอนต้น ส่วนภาษามาคธีเป็นภาษาอินเดีย-อิหร่านยุคกลางตอนกลาง ภาษาอินเดีย-อิหร่าน คือภาษาส่วนใหญ่ที่ใช้อยู่ในอินเดียและภาษาที่ใช้ในเปอร์เซียโบราณ ภาษาอินเดีย-อิหร่านเป็นภาษากลุ่มย่อยกลุ่มหนึ่งของภาษาตระกูลอินเดีย-ยุโรป

ภาษาบาลีที่ใช้ในพระไตรปิฎกเป็นแบบอย่างของภาษาที่ใช้ในคัมภีร์รุ่นต่อมา เช่น คัมภีร์อรรถกถา ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ใช้อธิบายพระไตรปิฎก ภาษาบาลีเป็นภาษาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ด้วยเหตุที่เป็นภาษาที่ใช้บันทึกพระไตรปิฎก และคัมภีร์พุทธศาสนานิกายเถรวาทอื่นๆ ส่วนคัมภีร์พุทธศาสนานิกายมหายานจะบันทึกด้วยภาษาสันสกฤต

บา
ผู้มาเยือน


ขึ้นไปข้างบน Go down

ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต การอ่านภาษาบาลีสันสกฤต Empty Re: ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต การอ่านภาษาบาลีสันสกฤต

ตั้งหัวข้อ  sunsakid Wed Dec 17, 2008 9:02 pm

ภาษาสันสกฤต

คนไทยมักเรียกภาษาบาลีกับภาษาสันสกฤตไปด้วยกันว่า ภาษาบาลีสันสกฤต จนบางคนเข้าใจผิดว่าภาษาบาลีกับภาษาสันสกฤตเป็นภาษาเดียวกัน ที่จริงภาษาบาลีกับภาษาสันสกฤตมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้จะเป็นภาษาที่อยู่ในตระกูลอินเดีย-อิหร่านเหมือนกันก็ตาม

ในด้านประวัติของภาษา ภาษาสันสกฤตมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาที่ใช้ในคัมภีร์ฤคเวทมาก นักภาษาศาสตร์เรียกภาษาในคัมภีร์ฤคเวทและพระเวทอื่นๆ ว่า ภาษาพระเวท ส่วนภาษาสันสกฤตนั้นหมายถึงภาษาที่พัฒนามาจากภาษาและพระเวทโดยตรง

ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาที่นักไวยากรณ์อินเดียชื่อ ปาณินิ ได้เขียนตำราไวยากรณ์ความยาว ๘ บท บรรยายลักษณะไว้ เมื่อประมาณกว่า ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว คนอินเดียรุ่นต่อมานิยมว่าภาษาที่ปาณินิเขียนไวยากรณ์อธิบายลักษณะไว้นี้มีความงดงามและถูกต้อง จึงใช้เป็นแบบอย่างในงานประพันธ์ของตน ภาษานี้รู้จักในชื่อว่าภาษาสันสกฤต แปลว่า “ภาษาที่ได้รับการตกแต่งแล้วอย่างดี” วรรณกรรมส่วนใหญ่ของอินเดียโบราณนิยมแต่งด้วยภาษาสันสกฤต ถือว่าภาษาสันสกฤตเป็นภาษาของผู้ทรงภูมิรู้

ผู้ใช้ภาษาสันสกฤตได้ถูกต้อง จึงได้รับการยกย่อง ขณะเดียวกันผู้ไม่รู้ภาษาสันสกฤต หรือรู้อย่างงูๆ ปลาๆ ก็จะถูกสบประมาท ความรู้ภาษาสันสกฤตนั้นจำกัดอยู่ในวงแคบคือใช้กันในหมู่พราหมณ์ผู้ทำพิธีกรรมและใช้ในราชสำนักเท่านั้น

แม้ว่าเมืองไทยจะนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งคัมภีร์สำคัญทางศาสนาจะใช้ภาษาบาลีบันทึก แต่ภาษาไทยก็มิได้รับแต่ภาษาบาลีมาใช้ หากยังรับคำภาษาสันสกฤตมาใช้จำนวนมากด้วย ทั้งนี้เพราะดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นดินแดนที่รับอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒ ภาษาสันสกฤต ซึ่งมากับความคิด ความเชื่อ ของพราหมณ์และพุทธศาสนานิกายมหายาน จึงได้แพร่หลายอยู่ทั่วดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนที่ดินแดนแถบนี้จะรับเอาพุทธศาสนานิกายเถรวาทจากลังกาเข้ามา

ด้วยเหตุที่ภาษาสันสกฤตแพร่หลายอยู่ก่อนแล้ว คนในถิ่นนี้จึงคุ้นเคยกับคำสันสกฤตมากกว่าคำภาษาบาลี ดังจะเห็นได้จากคำศัพท์สามัญในพระพุทธศาสนาและชื่อเฉพาะต่างๆ ที่นิยมเขียนด้วยรูปคำสันสกฤตมากกว่ารูปคำภาษาบาลี เช่นคำว่า ศาสนา กรรม ศีล ภิกษุ ไตรลักษณ์ กรุงกบิลพัสดุ์ นครราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นต้น วรรณกรรมพุทธศาสนาของไทยก็นิยมใช้รูปคำสันสกฤตมากกว่ารูปคำภาษาบาลี ดังนั้นในการศึกษาพระพุทธศาสนาจึงไม่ได้มุ่งศึกษาแต่เพียงภาษาบาลี แต่ได้ศึกษาภาษาสันสกฤตควบคู่ไปด้วย

นอกจากนี้แล้วคำส่วนใหญ่ในภาษาสันสกฤต ยังสามารถรักษารูปคำในสมัยเก่าไว้ได้มากกว่าคำภาษาบาลี ทั้งยังมีลักษณะทางไวยากรณ์ที่ซับซ้อนกว่า และมีข้อยกเว้นน้อยกว่าภาษาบาลี การศึกษาภาษาสันสกฤตจึงช่วยในการเข้าใจภาษาบาลีได้เป็นอย่างดี



การอ่านภาษาบาลีที่บันทึกด้วยตัวอักษรไทย

การอ่านภาษาบาลีที่ใช้ตัวอักษรไทยบันทึก ไม่มีความยุ่งยากใดๆ เลย ก่อนอื่นต้องเรียนรู้เครื่องหมายพิเศษที่ใช้ในการเขียนคำบาลี เครื่องหมายพิเศษนี้มีอยู่ ๒ รูป คือ พินทุ หรือเครื่องหมายจุดทึบที่เขียนใต้พยัญชนะ กับ นิคหิต หรือ จุดกลางเป็นวงกลมเล็กๆ ที่เขียนเหนือตัวพยัญชนะ หรือเขียนเหนือตัวพยัญชนะที่มีรูปสระ อิ กำกับ

ในการใช้ตัวอักษรไทยเขียนภาษาบาลีนั้นเราไม่นิยมเขียนรูปสระอะ หรือที่เรียกว่าไม่นิยมประวิสรรชนีย์ ตัวพยัญชนะที่ปรากฏตามลำพังให้ออกเสียงประสมสระอะ โดยไม่ต้องเขียนรูปสระอะ เช่น เขียน ภว อ่านว่า ภะ-วะ เขียน สรณ อ่านว่า สะ-ระ-ณะ เป็นต้น

พยัญชนะตัวใดมีรูปสระกำกับ ก็อ่านไปตามรูปสระนั้น เช่น กิริยา ก็อ่านว่า กิ-ริ-ยา ปุริส อ่านว่า ปุ-ริ-สะ หิริ อ่านว่า หิ-ริ

ตัวพยัญชนะที่มีจุดทึบอยู่ข้างใต้ให้อ่านเป็นตัวสะกด เช่น กมฺม อ่านว่า กัม-มะ คำมีจุดกลวงอยู่ข้างบนก็ให้อ่านเป็น ง สะกด เช่น ก อ่านว่า กัง กิ อ่านว่า กิง กํ อ่านว่า กุง อรหํ สมฺมา สฺมพุทโธ ภควา อ่านว่า อะระหัง สัมมา สัมพุทฺโธ ภะคะวา

พุทฺธํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ อ่านว่า พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ

อนึ่ง ตัวพยัญชนะ ท ในภาษาบาลี บางท่านอาจออกเสียง ด เช่น อภิวาเทมิ อ่านว่า อะพิวาเดมิ ก็ได้

sunsakid
ผู้มาเยือน


ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ